ประโยชน์ของการมีประกันภัย



ประโยชน์ของการประกันภัย




ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ เป็นประโยชน์ให้ทั้งบุคคลและนิติบุคคลอย่างมาก สามารถสรุปได้ดังนี้




1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
  • ให้ความคุ้มครองทำให้เกิดความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย
  • ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เช่น กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น
  • ช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้รับประกันภัย
  • ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยการประหยัดและการออม เนื่องจากต้องเก็บเงินจำนวนหนึ่งไว้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้ได้ตามจำนวนที่ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัยและต้องชำระให้ทันภายในกำหนดเวลา การออมทำให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามชรา
  • สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้
2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระแทน ก็จะทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยในการขยายเครดิตให้กับผู้กู้เงิน เป็นหลักประกันช่วยให้การกู้ยืมเงินดำเนินไปได้อย่างสะดวก เพราะการประกันภัยช่วยลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ เช่น ธนาคารจะกำหนดให้ ผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการกู้ หากผู้กู้เสียชีวิตไป ธนาคารก็จะสามารถเรียกเงินกู้ส่วนที่เหลือคืนได้ เพราะมีหลักประกันว่าจะได้รับชดใช้คืน
  • ช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต เพราะการทำประกันภัยคือการโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิดภัยก็ตามต้นทุนการผลิตก็ถูกกำหนดได้อย่างแน่นอน ช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริง
  • ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องมีการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปขายยังอีกประเทศหนึ่งซึ่งมีระยะทางไกลและอาจเกิดอันตรายในระหว่างการขนส่งได้ การประกันภัยนอกจากจะเข้ามาช่วยรับภาระความเสี่ยงภัยดังกล่าวข้างต้นแล้วยังทำให้ผู้ลงทุนกล้าตัดสินใจนำสินค้าไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความเจริญก้าวหน้า
  • ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมากๆ เช่น ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจรับส่งสินค้า และพาณิชย์นาวี เป็นต้น
3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้นผู้ประสบภัยจะได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน เช่น หากบ้านผู้เอาประกันภัยเกิดไฟไหม้ทำให้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยก็สามารถนำมาสร้างบ้านใหม่และใช้ในการดำรงชีพต่อไป ไม่ต้องเป็นภาระสังคมในการให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
  • ช่วยให้มีการระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการประกันภัยมีการเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับแหล่งเงินอื่น เพื่อให้ได้ดอกผลกลับคืนมา วิธีดังกล่าวช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า


ที่มา คปภ.


Ultima plan (IPD และ OPD)

















สนใจประกันรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์

ประเภทของการคุ้มครอง
การทำประกันภัยรถยนต์จะคุ้มครองความเสียหาย (แก่ร่างกาย และทรัพย์สิน) ให้กับผู้เอาประกันภัยและผู้อื่น (บุคคลภายนอก) โดยสามารถแบ่งประเภทความคุ้มครองความเสียหายออกเป็น 4 ส่วน



ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ.  ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”



การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย
ประเภทความคุ้มครอง
  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
  3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า
  4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป
ไฟไหม้ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
การสูญหายในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้น
  1. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้
การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ
การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)
บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)
บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา


ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
1.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
1.4   คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
2.3   คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
3.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
3.2   คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
4.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
5.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
- คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ
1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

ที่มา คปภ.


ประกันโควิด-19

หลักการวางแผนทางการเงิน

Maxima Plan (IPD และ OPD)









Premier Plan (IPD และ OPD)










ประโยชน์ของการมีประกันภัย

ประโยชน์ของการประกันภัย ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ  เป็นประโยชน...