ประเภทของการคุ้มครอง
การทำประกันภัยรถยนต์จะคุ้มครองความเสียหาย (แก่ร่างกาย และทรัพย์สิน)
ให้กับผู้เอาประกันภัยและผู้อื่น (บุคคลภายนอก)
โดยสามารถแบ่งประเภทความคุ้มครองความเสียหายออกเป็น 4 ส่วน
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ. ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ. ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ
(ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย)
โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ
ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย
ประเภทความคุ้มครอง
- ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต
ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก
และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน
และ 10,000 บาทต่อครั้ง
ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
(Third Party Property Damage: TPPD) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ
อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
- ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์
(Own Damage: OD) ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์
รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์
แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้
โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท
(รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า
80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย
เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า
- ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
(Fire and Theft: F&T) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์
รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์
ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป
ไฟไหม้ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้
ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
การสูญหายในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์
รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์
ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์
หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้น
- ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น
3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้
- การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร
ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ
- การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)
บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด
และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี
นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย
ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น
หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
- การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)
บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์
โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ
เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
1.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
(Comprehensive)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ
โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
1.4
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third
Party Liability, Fire and Theft)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท
1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์
โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
2.3
คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
3.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party
Liability)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท
1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก
ดังนี้
3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
3.2
คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
4.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party
Property Damage Only)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น
โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
5.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง
แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น
2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
- คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น
3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2
พลัส
และประกัน 3 พลัส คือ
1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้
จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
ที่มา คปภ.