ประกันควบการลงทุน Unit Link
ข้อมูลทั่วไป
1. กรมธรรม์ Unit Link คืออะไร
Unit Linked มาจากคำว่า Unit Linked Insurance Policy (ULIP) หรือกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (กรมธรรม์ Unit Linked) คือ การประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งไม่มีการรับประกันมูลค่ากรมธรรม์ เนื่องจากมูลค่ากรมธรรม์ขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงทุน โดยอาจสูงขึ้นหรือต่ำลงตามผลประกอบการของกองทุนรวม
- เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ Unit Linked แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 เป็นค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด โดยผู้ขอเอาประกันภัยสามารถเลือกสัดส่วนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำเงินส่วนนี้ไปบริหารเอง และบริษัทจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการนำเงินในส่วนนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินประเภทต่างๆ
ส่วนที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ ที่บริษัทเรียกเก็บ เพื่อเป็นค่าดำเนินการ ค่าดูแลรักษากรมธรรม์ และค่าบริการในการลงทุน ซึ่งจะกำหนดแตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่จัดสรรเข้าไปเป็นการลงทุนตามสัดส่วนที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือก ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามคำสั่งของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทที่รับจัดการเงินดังกล่าวจะออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้ดูแลระบบบัญชีกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย
2. ทำไมจึงต้อง ... Unit Link
สำหรับลูกค้า
เนื่องจากกรมธรรม์ Unit Linked เป็นการรวมกันของ 2 ผลิตภัณฑ์ นั่นคือ กรมธรรม์ประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุน กรมธรรม์ชนิดนี้จึงเป็นการเพิ่มความสะดวกสบาย (one-stop-service) สำหรับลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะได้รับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น เช่น การเปิดเผยข้อมูล เที่ยงตรง โปร่งใส ตัวแทนขาย (Investment Planner) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าตัวแทนขายกรมธรรม์แบบทั่วไป อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายกองทุนโดยไม่จำเป็นต้องทำธุรกรรมหลายที่ และสามารถวางแผนทางการเงินควบคู่กับความคุ้มครองได้ในกรมธรรม์เดียว
สำหรับบริษัทประกันชีวิต
กรมธรรม์ Unit Linked ช่วยในเรื่องของการลดภาระในการดำรงเงินกองทุน และการรับประกันการจ่ายผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบประกันชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันข้ามอุตสาหกรรมด้วย
สำหรับสังคม
เนื่องจากกรมธรรม์ Unit Linked เป็นการพัฒนาขึ้นอีกขั้นของกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งบริษัทที่ต้องการขายกรมธรรม์ชนิดนี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างมืออาชีพ มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งส่งผลให้ระบบการประกันภัยทั้งระบบมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
3. กรมธรรม์ Unit Link ต่างกับกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไปอย่างไร
Premium Holiday คือ การให้สิทธิบริษัทประกันชีวิตในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆภายใต้กรมธรรม์ อาทิเช่น ค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ โดยการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นการส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ โดยผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องส่งคำสั่งเอง และถือว่าเป็นเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัย เพื่อให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ในขณะที่ลูกค้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทประกันชีวิตต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะมีวิธีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนอย่างไร เช่น ไถ่ถอนเมื่อไร ไถ่ถอนจากกองทุนรวมใดบ้าง อย่างไรก็ตาม หากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายต่างๆภายใต้กรมธรรม์ กรมธรรม์จะสิ้นผลบังคับลง 4. Premium Holiday คืออะไร
6. หน่วยงานใดบ้างที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการออกกรมธรรม์และเสนอขายกรมธรรม์ Unit Linked และแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่อย่างไร
สำนักงาน คปภ.
1. ออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการออกกรมธรรม์และเสนอขายกรมธรรม์ Unit Linked ซึ่งประกอบด้วย
1.1 กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิต
1.2 กฎเกณฑ์กำกับดูแลกรมธรรม์ Unit Linked
1.2 กฎเกณฑ์การกำกับดูแลตัวแทนขาย Unit Linked ให้เทียบเท่ากับตัวแทนขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งได้แก่
ก) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ข) การให้ความเห็นชอบตัวแทนขาย Unit Linked
ค) ระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจ
ง) มาตรฐานและวิธีปฏิบัติในการให้คำแนะนำและการขาย Unit Linked
จ) ขอบเขตหน้าที่ของตัวแทนขาย Unit Linked
1.3 กฎเกณฑ์กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตปฏิบัติซึ่งได้แก่
ก) ดูแลให้ตัวแทนปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และหากไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์บริษัทประกันชีวิตต้องยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนนั้น
ข) จัดให้มีคู่มือตัวแทนขาย Unit Linked และคู่มือผู้เอาประกันภัย
ค) กำหนดขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับตัวแทน
3. ให้ความเห็นชอบแบบและข้อความแห่งกรมธรรม์ และอัตราเบี้ยประกันภัย
4. ขึ้นทะเบียนตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนำการลงทุนจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นตัวแทนขายหน่วงลงทุนเป็นตัวแทนขาย Unit Linked
5. ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ Unit Linked
6. กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตกำหนดขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน (ทั้งในส่วนกรมธรรม์และการขาย / รับซื้อคืนหน่วยลงทุน)
7. รับเรื่องร้องเรียนบริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ Unit Linked (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกรมธรรม์) และร้องเรียนเกี่ยวกับการเสนอขาย Unit Linked ของบริษัทประกันชีวิตและตัวแทน
8. ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในการจัดให้มีคณะกรรมการทางวินัย (disciplinary committee)
9. พิจารณาความผิดและลงโทษตัวแทนที่ขาดคุณสมบัติ หรือไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ หรือถูกสำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน
สำนักงาน ก.ล.ต.
1. ออกและบังคับใช้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
2. ออกและแก้ไขเพิ่มเติมกฎเกณฑ์ในการเสนอขายกรมธรรม์ Unit Linked ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวม รวมถึงหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ขายกรมธรรม์ Unit Linked ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนำการลงทุน
3. พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งกองทุนรวม
4. ประสานงานกับสำนักงาน คปภ. ร่วมจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณาความผิด
5. แจ้งการลงโทษผู้ขายหน่วยลงทุนให้สำนักงาน คปภ. พิจารณาลงโทษผู้ขายกรมธรรม์ Unit Linked และพิจารณาลงโทษผู้ที่สำนักงาน คปภ. ลงโทษในฐานะผู้ขาย Unit Linked
6. พิจารณาเห็นชอบหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม
7. รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
8. พิจารณาเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการกองทุนรวม และการโฆษณากองทุนรวม
9. พิจารณาเห็นชอบผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และผู้ชำระบัญชีของกองทุนรวม
10. กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ และผู้ดูแลผลประโยชน์
11. พิจารณาผ่อนผันระยะเวลาการชำระบัญชี
12. รับจดทะเบียนเลิกกองทุนรวม
13. รับเรื่องร้องเรียนบริษัทจัดการ
7. ทำไมจึงต้องมีองค์กรกำกับ 2 แห่ง
เนื่องจากกรมธรรม์ Unit Linked เป็นกรมธรรม์ที่ประกอบด้วยส่วนของการประกันชีวิตและส่วนของการลงทุนในหน่วยลงทุนจึงทำให้ต้องมีองค์กรกำกับ 2 แห่ง นั่นคือ สำนักงาน คปภ. จะกำกับดูแลในส่วนของบริษัทประกันชีวิต และระบบการขาย / ตัวแทน ในขณะที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทจัดการ และการบริหารกองทุน และการทำหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุน
ที่มา คปภ.