ประโยชน์ของการมีประกันภัย



ประโยชน์ของการประกันภัย




ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ เป็นประโยชน์ให้ทั้งบุคคลและนิติบุคคลอย่างมาก สามารถสรุปได้ดังนี้




1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
  • ให้ความคุ้มครองทำให้เกิดความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย
  • ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เช่น กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น
  • ช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้รับประกันภัย
  • ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยการประหยัดและการออม เนื่องจากต้องเก็บเงินจำนวนหนึ่งไว้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้ได้ตามจำนวนที่ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัยและต้องชำระให้ทันภายในกำหนดเวลา การออมทำให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามชรา
  • สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้
2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทรัพย์สินหรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กย่อมดำเนินอยู่บนความเสี่ยง หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระแทน ก็จะทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยในการขยายเครดิตให้กับผู้กู้เงิน เป็นหลักประกันช่วยให้การกู้ยืมเงินดำเนินไปได้อย่างสะดวก เพราะการประกันภัยช่วยลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ เช่น ธนาคารจะกำหนดให้ ผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการกู้ หากผู้กู้เสียชีวิตไป ธนาคารก็จะสามารถเรียกเงินกู้ส่วนที่เหลือคืนได้ เพราะมีหลักประกันว่าจะได้รับชดใช้คืน
  • ช่วยให้เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต เพราะการทำประกันภัยคือการโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งที่มีจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งถึงแม้จะเกิดหรือไม่เกิดภัยก็ตามต้นทุนการผลิตก็ถูกกำหนดได้อย่างแน่นอน ช่วยให้การคำนวณต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริง
  • ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องมีการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปขายยังอีกประเทศหนึ่งซึ่งมีระยะทางไกลและอาจเกิดอันตรายในระหว่างการขนส่งได้ การประกันภัยนอกจากจะเข้ามาช่วยรับภาระความเสี่ยงภัยดังกล่าวข้างต้นแล้วยังทำให้ผู้ลงทุนกล้าตัดสินใจนำสินค้าไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความเจริญก้าวหน้า
  • ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมากๆ เช่น ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจรับส่งสินค้า และพาณิชย์นาวี เป็นต้น
3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ ทำให้สังคมมีหลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้นผู้ประสบภัยจะได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน เช่น หากบ้านผู้เอาประกันภัยเกิดไฟไหม้ทำให้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยก็สามารถนำมาสร้างบ้านใหม่และใช้ในการดำรงชีพต่อไป ไม่ต้องเป็นภาระสังคมในการให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
  • ช่วยให้มีการระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการประกันภัยมีการเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยจะนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับแหล่งเงินอื่น เพื่อให้ได้ดอกผลกลับคืนมา วิธีดังกล่าวช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า


ที่มา คปภ.


Ultima plan (IPD และ OPD)

















สนใจประกันรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์

ประเภทของการคุ้มครอง
การทำประกันภัยรถยนต์จะคุ้มครองความเสียหาย (แก่ร่างกาย และทรัพย์สิน) ให้กับผู้เอาประกันภัยและผู้อื่น (บุคคลภายนอก) โดยสามารถแบ่งประเภทความคุ้มครองความเสียหายออกเป็น 4 ส่วน



ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ.  ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”



การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย
ประเภทความคุ้มครอง
  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
  3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า
  4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป
ไฟไหม้ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
การสูญหายในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้น
  1. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้
การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ
การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)
บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)
บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา


ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
1.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
1.4   คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
2.3   คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
3.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
3.2   คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
4.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
5.กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
- คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ
1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

ที่มา คปภ.


ประกันโควิด-19

หลักการวางแผนทางการเงิน

Maxima Plan (IPD และ OPD)









Premier Plan (IPD และ OPD)










Standard Plan (IPD และ OPD)













ประกันชั้น 3





กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)

           กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
          3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
          3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

          เรามักเรียกประกันประเภทนี้ว่า "ซ่อมเขา เราซ่อมเอง"

ประกันชั้น 3+



แบบประกัน 3 พลัส (3+)
    
    ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
   - คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
   - คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
     เงื่อนไขที่สำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทประกัน 3+ คือ
   1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
   2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง



ประกันชั้น 2+




แบบประกัน 2 พลัส (2+)

ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
- คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

เงื่อนไขที่สำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทประกัน 2+ คือ
   1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
   2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

สนใจประกันชีวิต


ประโยชน์ของการประกันชีวิต








ด้านการให้ความคุ้มครอง
การประกันชีวิตจะให้ประโยชน์ในด้านความคุ้มครอง กรณีที่ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ครอบครัวของผู้เอาประกันภัยมีเงินเลี้ยงชีพต่อไปโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น นอกจากนี้การประกันชีวิตยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในยามเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพอีกด้วย

ด้านการออมทรัพย์
ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้นจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องแบ่งรายได้ของตนส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกันภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเพื่อการออมทรัพย์ สามารถใช้เป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อไว้ใช้ยามชรา หรือออมไว้เพื่อเก็บเป็นทุนการศึกษาของบุตรหลาน

ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของผู้เอาประกันภัย
การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ในกรณีการทำประกันคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้

ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับแบบทั่วไป และ 200,000 บาทสำหรับแบบบำนาญ

ด้านการลงทุน
จำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้กับผู้รับประกันภัยจะถูกสะสมไว้เป็นเงินสำรองประกันชีวิต เงินสำรองนี้ผู้รับประกันภัยจะนำไปลงทุนในกิจการที่มั่นคงเพื่อให้เกิดดอกผล และส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

ด้านอื่นๆ
การทำประกันชีวิตเปรียบเสมือนการเตรียมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ก็จะมีมูลค่าเงินสด หากผู้เอาประกันภัยมีความจำเป็นทางการเงินก็สามารถขอคืนเงินจำนวนหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดนำไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้


ที่มา คปภ.


ประกันรถภาคสมัครใจ (พรบ.)

ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ
การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หมายถึงการประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับ ผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถและผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้

ประกันชั้น 1




กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์



ประกันชดเชยรายได้กรณีนอนโรงพยาบาล Hospital Benefit

สนใจประกันอุบัติเหตุ Personal Accident

การประกันภัยอุบัติเหตุ (Accident Insurance)

การประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

ประเภทสัญญาประกันภัย : การประกันชีวิต

แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือที่นิยมเรียกกันว่า ประกันภัยพีเอ (PA) หมายถึง การทำประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับบุคคล จะเป็นเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น หรือจะรวมถึงบุคคลในครอบครัวด้วยก็ได้
2.การประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสำหรับองค์กร เพื่อใช้ในการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มีลักษณะคิดเหมาเป็นรายหัวภายในองค์กร หากลูกจ้างได้พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของบริษัทนั้นๆ แล้ว ก็ถือว่าหมดความคุ้มครอง
3.การประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา เป็นประกันภัยลักษณะเดียวกับประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม โดยเน้นความคุ้มครองสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เหมาะสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ

ประกันโรคร้ายแรง Critical Insurance

ประกันควบการลงทุน Unit Link


ประกันควบการลงทุน Unit Link

ข้อมูลทั่วไป



1. กรมธรรม์ Unit Link คืออะไร
Unit Linked มาจากคำว่า Unit Linked Insurance Policy (ULIP) หรือกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (กรมธรรม์ Unit Linked) คือ การประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งไม่มีการรับประกันมูลค่ากรมธรรม์ เนื่องจากมูลค่ากรมธรรม์ขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงทุน โดยอาจสูงขึ้นหรือต่ำลงตามผลประกอบการของกองทุนรวม
- เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ Unit Linked แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 เป็นค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด โดยผู้ขอเอาประกันภัยสามารถเลือกสัดส่วนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำเงินส่วนนี้ไปบริหารเอง และบริษัทจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการนำเงินในส่วนนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินประเภทต่างๆ
ส่วนที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ ที่บริษัทเรียกเก็บ เพื่อเป็นค่าดำเนินการ ค่าดูแลรักษากรมธรรม์ และค่าบริการในการลงทุน ซึ่งจะกำหนดแตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่จัดสรรเข้าไปเป็นการลงทุนตามสัดส่วนที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือก ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามคำสั่งของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทที่รับจัดการเงินดังกล่าวจะออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้ดูแลระบบบัญชีกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย
2. ทำไมจึงต้อง ... Unit Link
สำหรับลูกค้า
เนื่องจากกรมธรรม์ Unit Linked เป็นการรวมกันของ 2 ผลิตภัณฑ์ นั่นคือ กรมธรรม์ประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุน กรมธรรม์ชนิดนี้จึงเป็นการเพิ่มความสะดวกสบาย (one-stop-service) สำหรับลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะได้รับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น เช่น การเปิดเผยข้อมูล เที่ยงตรง โปร่งใส ตัวแทนขาย (Investment Planner) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าตัวแทนขายกรมธรรม์แบบทั่วไป อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายกองทุนโดยไม่จำเป็นต้องทำธุรกรรมหลายที่ และสามารถวางแผนทางการเงินควบคู่กับความคุ้มครองได้ในกรมธรรม์เดียว
สำหรับบริษัทประกันชีวิต
กรมธรรม์ Unit Linked ช่วยในเรื่องของการลดภาระในการดำรงเงินกองทุน และการรับประกันการจ่ายผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบประกันชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันข้ามอุตสาหกรรมด้วย
สำหรับสังคม
เนื่องจากกรมธรรม์ Unit Linked เป็นการพัฒนาขึ้นอีกขั้นของกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งบริษัทที่ต้องการขายกรมธรรม์ชนิดนี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างมืออาชีพ มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งส่งผลให้ระบบการประกันภัยทั้งระบบมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
3. กรมธรรม์ Unit Link ต่างกับกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไปอย่างไร



Premium Holiday คือ การให้สิทธิบริษัทประกันชีวิตในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆภายใต้กรมธรรม์ อาทิเช่น ค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ โดยการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นการส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ โดยผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องส่งคำสั่งเอง และถือว่าเป็นเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัย เพื่อให้กรมธรรม์ยังมีผลบังคับอยู่ในขณะที่ลูกค้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทประกันชีวิตต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะมีวิธีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนอย่างไร เช่น ไถ่ถอนเมื่อไร ไถ่ถอนจากกองทุนรวมใดบ้าง อย่างไรก็ตาม หากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอที่จะชำระค่าใช้จ่ายต่างๆภายใต้กรมธรรม์ กรมธรรม์จะสิ้นผลบังคับลง 4. Premium Holiday คืออะไร

สนใจประกันสุขภาพ Health Insurance


การประกันภัยสุขภาพ (Health Insurance)







การประกันภัยสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

ประเภทของการประกันภัยสุขภาพ

การประกันภัยสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล และการ ประกันภัยสุขภาพกลุ่ม
ทั้ง 2 ประเภท ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่
1.ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่าย
      - ค่าห้องและค่าอาหาร
      - ค่าบริการทั่วไป
      - ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ
2.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
3.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
4.ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลินิก หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5.ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
6.ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
7.การชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์

ความคุ้มครองเบื้องต้น

การประกันภัยสุขภาพให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัยที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีการคุ้มครองผลประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดังนี้
ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยภายใน (IPD)
ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาลและอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของการประกันภัยสุขภาพ เพราะมักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและมีมูลค่าสูง

ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD)
ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ตาแดง ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้งจึงไม่สูงมากนัก โดยมากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ได้แก่ ค่าแพทย์และค่ายา ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจรวมอยู่ในแผนประกันภัยเลย หรืออาจเป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมที่สามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย
ผลประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ/เอกสารแนบท้าย
กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพได้กำหนดเอกสารแนบท้ายไว้ เพื่อเป็นการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมจากข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมนอกเหนือจากกรมธรรม์หลัก ดังนี้
  • การคลอดบุตร ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • การรักษาฟัน
  • การดูแลโดยพยาบาลพิเศษ ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายของพยาบาลที่มีความจำเป็นโดยคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง

หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันสุขภาพ ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภทอื่นๆ คือ “จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้”
1. การทำประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งข้อมูลเรื่องสุขภาพตาม
 ความเป็นจริงโดยไม่ปิดบัง หากทางบริษัทตรวจพบความจริงในภายหลัง
 บริษัทสามารถปฏิเสธความคุ้มครองต่างๆ ได้
2.เงื่อนไขระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) หรือระยะเวลาที่
ไม่คุ้มครอง หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษา
พยาบาลแต่ไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เพราะอาจมีอาการเจ็บป่วย
มาก่อนทำประกัน การประกันสุขภาพจึงได้กำหนดเงื่อนไขระยะเวลารอคอย
ขึ้น เพื่อป้องกันการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสภาพที่เป็นมาก่อนการ
เอาประกันภัย การกำหนดระยะเวลารอคอยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของ
แต่ละบริษัทประกันภัย อาจจะมีระยะเวลารอคอยประมาณ 30-120 วัน
3. การประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคหรือการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น
  • - การเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • - โรคที่เกี่ยวกับผิวพรรณ เช่น สิว ฝ้า รังแค ผมร่วง
  • - โรคตาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์
  • - การรักษาหรือการบำบัดกรณีติดยาเสพติด บุหรี่ และเหล้า
  • - การรักษาโดยไม่ใช้แพทย์แผนปัจจุบันหรือเป็นแพทย์ทางเลือก
  • - โรคที่เคยเป็นต่อเนื่องมาก่อนการทำประกันภัย
4.การประกันสุขภาพโดยทั่วไป จะไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัวซึ่งไม่ได้
เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม
การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค
การติด และการตรวจสายตา เช่นกัน
5.การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย กำหนดสิทธิให้ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก
กรมธรรม์ประกันภัยได้ แต่บริษัทประกันภัยจะใช้สิทธิในการบอกเลิกได้
เฉพาะกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยทุจริตเท่านั้น

ปัจจัยการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย

1.อายุ
ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน ซึ่งช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันถูกสุด ได้แก่ อายุที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี หรือคนวัยทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ส่วนช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันค่อนข้างสูงได้แก่ ช่วงวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี และช่วงวัยสูงอายุ 50-60 ปี
2.เพศ
อัตราเบี้ยประกันภัยเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน โดยเพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บทางร่ายกายนานกว่าเพศชาย
3.สุขภาพ
ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล รวมทั้งสภาพร่ายกายของผู้ขอเอาประกันภัยเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรง เบี้ยประกันภัยย่อมถูกกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอหรือเคยมีประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรง เนื่องจากบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่าในการที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงในอนาคต
4.อาชีพ
อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อาชีพที่มีความเสี่ยงภัยหรือมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยสูง เช่น อาชีพวิศวกรคุมงานก่อสร้าง หรือช่างทำงานในโรงงาน เบี้ยประกันภัยย่อมสูงกว่าอาชีพพนักงานบริษัททั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยง
5.การดำเนินชีวิต
การใช้ชีวิตหรือ Life Style ของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุของบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นอัตรเบี้ยประกันจึงสูงกว่า เป็นต้น
6.สำหรับการประกันภัยหมู่
อัตราเบี้ยประกันภัยพิจารณาจากจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัย ถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงย่อมมีมากกว่า ซึ่งจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลงได้

    ข้อแนะนำในการทำประกันสุขภาพ



1.ควรศึกษาข้อมูลของแบบประกันสุขภาพเปรียบเทียบกันหลายๆ แห่ง ว่ามีลักษณะหรือรูปแบบในการคุ้มครองเป็นแบบใด และเลือกแผนประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองเหมาะสมกับความต้องการของตนเองมากที่สุด เช่น
  • ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) เหมาะสำหรับผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย เป็นหวัด แพ้อากาศ เป็นไข้ เจ็บคอ เป็นประจำ การทำประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอกนี้จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในแต่ละครั้งได้ โดยปกติประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก จะชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน และสูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี

    ตัวอย่าง นายดำซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม โดยจ่ายเบี้ยประกัน 3,000 บาทต่อปี ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 90,000 บาทต่อปี เบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยได้สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี (ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน และไม่เกิน 7 ครั้งต่อโรค)
  • ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหนัก และต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน เช่น นอนให้น้ำเกลือ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น โดยปกติประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน จะกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลไว้ เช่น ค่าห้องต่อวัน ค่าผ่าตัดต่อโรค ค่ายา รวมถึงกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลต่อครั้งไว้ด้วย

    ตัวอย่าง กรณีผู้ป่วยในที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปี 300,000 บาท เบิกได้สูงสุดต่อโรคหรืออุบัติเหตุรวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาทหรือไม่เกิน 30 ครั้งต่อปีต่อรอบกรมธรรม์ มีค่าห้องพักและค่าอาหารต่อวัน 1,400 บาท และค่ารักษาพยาบาลทั่วไปต่อครั้ง 20,000 บาท เป็นต้น
  • ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองจากกรณีเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวาย เป็นต้น

    ตัวอย่าง นางอรอายุ 35 ปี ซื้อความคุ้มครอง 4 โรคร้าย ได้แก่ ไตวาย หัวใจวาย หลอดเลือดสมองแตก และภาวะโคม่า จ่ายเบี้ยประกันภัยประมาณ 4,000 บาทต่อปี วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปี 1,800,000 บาท หากแพทย์วินิจฉัยพบว่าเป็นโรคเหล่านี้ รับค่าสินไหมทดแทนทันที 100% ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

2. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งเรื่องค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับกรณีเจ็บป่วยทั่วไป รวมถึงเรื่องอุบัติเหตุและโรคร้ายแรงไว้ด้วย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงกรณีทุพพลภาพ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุทำให้พิการ หรืออาจเกิดจากโรคร้ายแรง เช่น หลอดเลือดในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต จะได้ครอบคลุมความเสี่ยงเรื่องสุขภาพไว้ได้ทั้งหมด
3. ควรพิจารณาเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป โดยพิจารณาศักยภาพของตนเองว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ในระดับใด ซึ่งโดยปกติไม่ควรจะเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี เช่น นายดำมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท หรือรายได้รวมทั้งปีเท่ากับ 600,000 บาท นายดำควรจ่ายเบี้ยประกันโดยเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 60,000-90,000 บาทต่อปี
4. ควรตรวจสอบว่ามีโรงพยาบาลในเครือครอบคลุมการใช้สิทธิ์ประกันภัยสุขภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ หากมีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นสามารถที่จะเข้าใช้บริการได้ทันเวลา
5. ควรวางแผนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้า เพราะประกันสุขภาพบางตัวค่าเบี้ยประกันจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นอาจจะต้องวางแผนการจ่ายเบี้ยประกันให้เหมาะสม ว่าในอนาคตยังสามารถจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไหวหรือไม่ เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา คปภ.




ประโยชน์ของการมีประกันภัย

ประโยชน์ของการประกันภัย ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ  เป็นประโยชน...